สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่ (หลักสูตรใหม่ 4 ปี / 2 ปี*)

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่

Bachelor of Industrial Technology Program in Modern Industrial Engineering Technologies

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

อส.บ. (เทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่)
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่)

Bachelor of Industrial Technology (Modern Industrial Engineering Technologies)
B.Ind.Tech. (Modern Industrial Engineering Technologies)

วิชาเอก
1. วิศวกรรมการผลิต
2. เทคโนโลยีโลหการและนวัตกรรมวัสดุ
3. วิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน

* สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สามารถเทียบโอนผลการเรียนในรายวิชาของหลักสูตรได้

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้บริหาร/หัวหน้างาน/ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้ชำนาญงานด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่ด้านการผลิตและการจัดการ ด้านเทคโนโลยีโลหการและนวัตกรรมวัสดุ ด้านเทคโนโลยีเครื่องกล ด้านเทคโนโลยีพลังงาน เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานหล่อโลหะ และโรงงานพลาสติก เป็นต้น

  • พนักงานในหน่วยงานรัฐ งานพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รัฐวิสาหกิจต่างๆ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • นักประดิษฐ์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการสมัยใหม่

  • วิศวกร/วิศวกรควบคุม/ผู้ช่วยวิศวกร ในงานอุตสาหกรรมการผลิตและการจัดการ

  • นักออกแบบและวางแผน ระบบทางวิศวกรรมและควบคุมการผลิต

  • นักตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัสดุ

  • ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการพลังงานทั้งในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

  • ผู้ช่วยวิจัยในสถาบันวิจัย

  • ผู้ประกอบการอิสระด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
โดยจำนวนที่เรียนตลอดหลักสูตร 122 หน่วยกิต ดังนี้

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

24 หน่วยกิต

1.กลุ่มวิชาภาษา

9 หน่วยกิต

2. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์หรือกลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์

3 หน่วยกิต

3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์หรือกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์

6 หน่วยกิต

4. เลือกรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

92 หน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

17 หน่วยกิต

2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ

27 หน่วยกิต

3. กลุ่มวิชาเอกบังคับ

35 หน่วยกิต

4. กลุ่มวิชาเอกเลือก

6 หน่วยกิต

5. กลุ่มวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพ

7 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเฉพาะ

6 หน่วยกิต